Tenda Router Wireless Series
W309R+/ FH303+/FH303 / F3 / FH305 / N301 / N150
1. เกริ่นนำเกี่ยวกับเมนู System Tools
เมนู System Tools หรือ Tools ใน Router Wireless ของ Tenda นั้น จะเป็นเมนูที่รวมเอา ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษา หรือจัดการการทำงานโดยรวมของตัว Router Tenda ครับ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง และมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น โดยจะรวบรวมเมนูย่อย สำหรับการปรับแต่งฟังก์ชั่นอื่น ๆ อาทิ
- Reboot : สำหรับสั่งให้อุปกรณ์ทำการ Reboot อาจจะเพราะมีการตั้งค่าบางอย่างไว้ หรือต้องการเคลียร์ Session การทำงาน
- Restore to Factory Default : สำหรับ Reset ค่าของอุปกรณ์ ให้กลับคืนเป็นค่าจากโรงงาน เหมือนเมื่อตอนซื้อมาใหม่ ๆ ครับ
- Backup/Restore : สำหรับสำรองค่า Config ที่ตั้งไว้แล้วให้เก็บไว้ในรูปแบบไฟล์ และสำหรับเรียกคืนค่าที่ได้สำรองไว้จากไฟล์
- Syslog : เป็นฟังก์ชั่น ตรวจสอบการทำงาน และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวอุปกรณ์
- Remote Web Management : เป็นฟังก์ชั่นสำหรับเปิดให้สามารถ Remote เข้ามาจัดการอุปกรณ์ผ่านทาง WAN ได้
- Time Settings : เป็นฟังก์ชั่นสำหรับปรับแต่งเวลาและโซนเวลา เพื่อให้มีความเที่ยงตรงแม่นยำ
- Schedule Reboot : สำหรับตั้งค่าให้อุปกรณ์ทำการ Reboot ตามช่วงเวลาอัตโนมัติ
- Ping Watchdog : เป็นฟังก์ชั่นตรวจสอบการเชื่อมต่อ เพื่อตรวจสอบสถานการณ์เชื่อมต่อให้คงไว้ตลอด
- Change Password : สำหรับเปลี่ยน Password ของ Admin
- Upgrade : สำหรับ Upgrade Firmware ของอุปกรณ์ กรณีที่ได้รับ Firmware เวอร์ชั่นใหม่มาครับ
2. เมนู Reboot
เมนู Reboot เป็นเมนูสำหรับสั่งให้อุปกรณ์ทำการ Reboot ตัวอุปกรณ์ อาจจะเพื่อเคลียร์ Sessons การทำงาน หรือมีการตั้งค่า ปรับเปลี่ยนค่าของบางฟังก์ชั่น เพื่อให้เริ่มกลับมาทำงานใหม่ครับ โดยหลังจาก Reboot จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้ยืนยัน ถ้าตกลงก็จะมีเปอร์เซ็นต์แสดงให้รอจนครบ 100% อาจจะทำให้การเชื่อมต่อทั้งสาย LAN และ Wireless หลุด ก็ให้เชื่อมต่อกับชื่อ Wireless เดิมใหม่อีกครั้งครับ
3. เมนู Restore To Factory Default
เมนู Restore To Factory Default เป็นเมนูสำหรับ Reset ค่าของอุปกรณ์ ให้กลับคืนเป็นค่าจากโรงงาน อาจจะเพราะมีการเซตตั้งค่าบางอย่างผิด หรือลืม Password หรือลืมรหัสผ่าน Wireless หรือเข้าหน้าตั้งค่า Router ไม่ได้ หรือ อยาก Reset Default เพราะต้องการตั้งค่าใหม่ เป็นต้น ก็ต้องทำการ Restore To Factory Default ครับ ซึ่งค่าต่าง ๆ จะถูกล้างแล้ว กลับเป็นเป็นค่าตั้งต้นจากโรงงานครับดังนี้
IP Address = 192.168.0.1
Password = admin
หลังจากกดปุ่ม Restore To Factory Default แล้วตอบตกลงแล้ว จะขึ้นหน้าจอแสดงผลการคืนค่าขึ้นมา เป็นเปอร์เซ็นต์จาก 0 ถึง 100 ให้รอจนกว่าจะเสร็จสิ้น แล้วจะกลับไปที่หน้า Login ตามเดิม
4. เมนู Backup/Restore
เป็นเมนูสำหรับการสำรองค่า Config ที่ตั้งไว้ เพื่อเรียกกลับมาใช้งานในภายหลังกรณีที่ทำการรีเซ็ตตัวอุปกรณ์ใหม่แบบ Reset เอง หรือเกิดเหตุสุดวิสัย ค่า Config ที่ตั้งไว้หาย และกลับคืนเป็นค่าจากโรงงาน ซึ่งการเซตค่าใหม่ก็อาจจะยุ่งยาก หรือลูกค้าอาจจะลืมจำขั้นตอนไม่ได้ การใช้ไฟล์ที่ Backup ไว้ มาเรียกคืนภายหลัง ก็จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการตั้งค่าได้เป็นอย่างดีครับ โดยมีการตั้งค่าดังนี้ครับ
4.1. การ Backup ข้อมูล ค่า Config
จากหน้า Backup/Restore ให้คลิกปุ่ม Backup จะมีกรอบหน้าต่างให้ยืนยันการ Backup ค่า ให้คลิก ตกลงครับ
สักครู่ จะมีแจ้งเตือนการ Download จาก Browser หรือจาก Program ช่วย Download ให้ Save ไฟล์ เก็บไว้ใน Folder ที่ต้องการครับ
ไฟล์ที่ Backup จะชื่อ “ RouterCfm.cfg “ ครับ โดยถ้าไม่ได้ระบุเปลี่ยน Folder ตอนดาวน์โหลด ก็ลองหาดูจาก Folder Download ครับ
4.2. การเรียกคืน Restore ข้อมูล ค่า Config
การ Restore หรือการเรียกคืนค่า Config ที่สำรองไว้ โดยค่า Config ดังกล่าว จะหมายถึง การตั้งค่าทุกอย่างที่สำรองไว้ก่อนการเป็นค่าจากโรงงาน เช่น ค่า WAN Setting, Wireless Setting, LAN IP, Firewall, Forward Port และ DDNS เป็นต้น โดยค่าต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกเรียกกลับมาใช้ใหม่ โดยมีวิธีการเรียกคือ ตามขั้นตอนดังนี้ครับ
อันดับแรก ให้คลิกที่เมนูหลักด้านซ้ายมือ Tools > ต่อด้วย เมนูย่อย Backup / Restore ก็จะเข้ามาหน้าตั้งค่า Backup/Restore ตามรูปครับ ให้คลิกที่ เลือกไฟล์ จากนั้นจะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมาให้เลือกไฟล์ RouterCfm.cfg จากโฟล์เดอร์ที่ก็บไว้ Backup ค่า Config ดังกล่าว เสร็จแล้วคลิก Open ดังรูป
เมื่อเลือกไฟล์แล้ว ให้คลิกที่ Restore จากนั้นจะมีหน้าต่างแจ้งเตือน ให้คลิก ตกลง เพื่อยืนยันครับ
เมื่อคลิกตกลงแล้ว จะเข้ามาที่หน้าต่างแสดงผลการคืนค่า ให้รอจนกว่าจะเสร็จ 100% ครับ แล้วจะกลับไปที่หน้า Login ครับ จากนั้นให้ตรวจสอบค่า ของอุปกรณ์ จะเห็นว่า จากค่า Default ที่ยังไม่ได้ตั้งค่าอะไรไว้ ก็จะถูกเปลี่ยนให้เป็นค่าที่ใช้งานได้ เช่นเดียวกับตอนก่อน Backup ค่าครับ ซึ่งก็สะดวกที่ลูกค้าไม่ต้องเซตค่าให้ยุ่งยากครับ
5. System Log
ฟังก์ชั่น System Log : เป็นหมวดแสดงเหตุการณ์และลำดับขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ของตัวอุปกรณ์ ตั้งแต่เริ่มต้นใช้งานอุปกรณ์ จนถึง การเชื่อมต่อที่เสร็จสมบูรณ์ หรือแสดงเหตุการณ์ กรณีที่การเชื่อมต่อผิดพลาด มี Error หรือมีการเปิดทำงานฟังก์ชั่น บางอย่างเป็นต้น โดย System Log จะมีความเกี่ยวเนื่องกับการตั้งค่าของฟังก์ชั่นบางตัว เช่น WAN Connection Type, DHCP Server, Schedule Reboot, Ping Watchdog, Time Setting เป็นต้น ผู้ใช้สามารถเข้ามาตรวจสอบ System Log ได้จากเมนู Tools > Syslogครับ
สำหรับความหมายของแต่ละ Items ในตารางแสดง Log ก็มีดังนี้
Example 1 : Log แสดงขั้นตอนการรับ DHCP จาก Router ตัวหลัก และแสดงสถานะของค่า Time ที่ Update เวลาปัจจุบันสำเร็จ
Example 2 : Log แสดงสถานะของฟังก์ชั่น Ping Watchdog เริ่มทำงาน และแสดงสถานการณ์ตรวจสอบว่า OK หรือ Error
6. การตั้งค่า Remote Web Management
ฟังก์ชั่น Remote Web Management : เป็นฟังก์ชั่นที่ช่วยให้ ผู้ใช้สามารถ Remote จาก Internet เพื่อเข้ามาจัดการ และ ตั้งค่าตัวอุปกรณ์ Router Wireless Tenda ได้ เสมือนกับผู้ใช้เข้าตรงจากภายในวง LAN เดียวกัน แต่ก็มีองค์ประกอบเพิ่มเติมคือ
- DDNS : เป็นการระบุตำแหน่งของ WAN IP Address ให้สามารถ Remote จาก Internet เข้ามาได้ถูกต้อง โดยผู้ใช้สามารถตั้งค่า DDNS จากฟังก์ชั่น DDNS ของ Router Tenda หรือจะใช้เป็นแบบ DDNS Client แบบ Program ติดตั้งก็ได้ครับ
- Bridge Mode + PPPoE Mode : แนะนำโหมดสำหรับเชื่อมต่อ Internet เพื่อให้สามารถ Remote Access เข้ามาจัดการอุปกรณ์ ได้ง่าย โดยเซตฝั่ง WAN Connection Type ของ Router Tenda ให้เป็น PPPoE แล้วเซตตัว Modem ให้เป็น Bridge Mode ครับ โดยอาจจะต้องสอบถามวิธีเซต Bridge Mode กับทาง Support ของอุปกรณ์ยี่ห้อนั้น ๆ
- WAN IP : ฝั่ง Router Tenda จำเป็นที่จะต้องได้รับ WAN IP ที่เป็น Public IP ไม่ใช่ Private IP หรือ IP ที่ได้รับมาจาก NAT ของผู้ให้บริการ ( WAN IP ที่ไม่สามารถใช้เป็น Remote Access ได้คือ 10.xxx.xxx.xxx, 100.xxx.xxx.xxx และ 172.xxx.xxx.xxx ครับ ) แนะนำให้แจ้งไปทาง ISP เพื่อให้ปล่อยเป็น IP แบบ Public IP ครับ
การ Remote ยังสามารถประยุกต์ให้ Remote จากวง LAN ของ Router ตัวหลัก เข้ามายัง Router Tenda ผ่าน Local WAN IP ได้ด้วยครับ
โดยสามารถเข้าไปตั้งค่าได้จาก เมนู Tools > Remote Web Management ครับ และวิธีการเซตตั้งค่าก็ดังรูปตัวอย่าง
7. การตั้งค่า Time Settings
เนื่องจากตัว Router Wireless จะไม่มีชุด RTC หรือวงจรนาฬิกา ทำให้ไม่สามารถ Run เวลาได้เองครับ แต่จะใช้วิธีการ Update เวลากับ NTP หรือ Time Server บน Internet แทน ซึ่งก็มีความเที่ยงตรงและแม่นยำถูกต้องสูงเช่นกัน ซึ่งการปรับเวลาให้ตรงนั้น มีความเกี่ยวเนื่องกับบางฟังก์ชั่น เช่น การตั้งเวลา Reboot ด้วย Schedule Reboot, เวลาที่แสดงใน Syslog และการตั้งค่า Block เป็นช่วงเวลาใน Security
NOTE : ทุกครั้งที่ Reboot หรือเปิดเครื่องมาใหม่ ๆ เวลาจะเริ่มต้นที่ 00:00 นาฬิกา และรอสักครู่ ให้อุปกรณ์ ทำการ Update กับ Time Server บน Internet แล้วเวลาในเครื่องก็จะตรงกับเวลาปัจจุบันครับ โดยโหมดที่สามารถ Update ก็คือโหมด Router Wireless หรือ WISP เท่านั้นครับ แต่ถ้าใช้โหมด Universal Repeater หรือ Access Point จะไม่ Update เวลา Auto ต้องเลือกเป็น Customized แทน
ในส่วนของการตรวจสอบเวลาว่า Update ตรงกับปัจจุบันหรือไม่ จะเช็คจาก Customized Time ไม่ได้ครับ เพราะยังไม่ใช่ค่าที่ถูกต้อง เป็นคนละเวลากันครับ แนะนำให้ไปที่เมนู Advanced > Status แล้วเลื่อน Scholl Bar ลงมาด้านล่าง ตรงส่วนของ System Time ดังรูป
8. ฟังก์ชั่น Schedule Reboot
โดยส่วนมากแล้ว อุปกรณ์ Wireless Router จะเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาให้ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง อาจจะเพื่อรองรับการใช้งานของผู้ใช้แบบตลอดเวลา แต่ในการเปิดทำงานตลอด 24 ชั่วโมงนั้น บางครั้งอาจจะมีปัจจัยอื่นรบกวนอุปกณร์ ให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดตํ่าลง ส่งผลให้ Client ที่ใช้งานทั้งแบบสาย และ Wireless ไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพครับ
ฟังก์ชั่น Schedule Reboot : เป็นฟังก์ชั่น ที่สั่งให้ ตัวอุปกรณ์ ทำการ Reboot ตัวเอง ตามเงื่อนไข เช่น ตามวันและเวลาที่ระบุไว้ อาจจะเพื่อสำหรับเคลียร์ Session ของ NAT Table ที่หนาแน่น หรือเคลียร์ หน่วยความจำที่เหลือน้อย ให้กลับมาเป็นปรกติ และ ช่วยในการจองช่องสัญญาณ Wireless ใหม่ กรณีที่มีบริเวณนั้นมีการใช้ Channel Wireless หนาแน่น ซึ่งก็คล้าย ๆ กับ Computer PC หรือ Device ต่าง ๆ ที่เวลา Reboot เครื่องใหม่แล้ว ทำให้โดยรวมกลับมาใช้งานได้ดีครับ และใช้เวลาในการ Reboot ไม่นานด้วย ประมาณ 1 - 2 นาทีเท่านั้น
การตั้งค่า Schedule Reboot มีดังนี้ครับ
ให้คลิกที่เมนูหลักด้านบน Tools ต่อด้วย เมนูย่อย Schedule Reboot ก็จะเข้ามาหน้าตั้งค่า Schedule Reboot ตามรูปครับ ในการเปิดการทำงานฟังก์ชั่น Schedule Reboot ทำได้โดยเช็คถูกตรงช่อง Enable แล้วกำหนด Time Reboot ว่าจะให้ Reboot เวลาไหน เช่น เที่ยงคืน ( 0 H 0M ) หรือ หกโมงเย็น ( 18 H 0 M ) และเช็คเลือกว่าต้องการให้ Reboot วันไหนบ้างครับ เสร็จแล้วกดปุ่ม OK ดังรูป
9. ฟังก์ชั่น Ping Watchdog
เป็นฟังก์ชั่นที่ออกแบบมาสำหรับช่วยในการตรวจสอบการเชื่อมต่อ ระหว่างอุปกรณ์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อภายในวง LAN หรือการเชื่อมต่อ Internet ของตัว Router Tenda เอง โดยมีกลไกในการทำงานก็คือ ตรวจสอบที่อยู่ของ Server หรือ อุปกรณ์ ปลายทางที่กำหนด ถ้าตรวจสอบไม่เจอภายในเวลา และจำนวนครั้งที่กำหนด ก็จะ Reboot ตัวอุปกรณ์ หรือ Reconnect การเชื่อมต่อใหม่ครับ
ยกตัวอย่างเช่น มีการเซตโหมดของ Router Tenda เป็น Repeater หรือโหมด Router Wireless ให้เชื่อมต่อกับ Modem Router Wireless ตัวหลัก แล้วมีการตั้งค่าให้ Router Tenda เปิดฟังก์ชั่น Ping Watchdog เพื่อให้อุปกรณ์ทำการตรวจสอบสถานการณ์ ของการเชื่อมต่อตามเวลาที่ระบุไว้ ว่ามีการหลุดการเชื่อมต่อจาก Modem Router Wireless ตัวหลักหรือไม่ โดยเช็คด้วยวิธี Ping ไปที่ IP Address ของตัว Modem Router Wireless ตัวหลัก ที่ระบุไว้ ซึ่งถ้า Ping ไม่เจอตามเวลาที่กำหนด และตามจำนวนครั้งที่กำหนดไว้ ก็ให้ Reboot ตัวเอง เพื่อสร้างการเชื่อมต่อใหม่ แต่ถ้า Ping เจออยู่ ก็ให้คงสถานการณ์เชื่อมต่อไว้ เป็นต้น
โดยแต่ละ ITEMS ในหน้า Ping Watchdog มีรายละเอียดดังนี้ครับ
1. Enable Ping Watchdog : สำหรับเปิด-ปิดการทำงานของฟังชั่น
2. IP Address 1, 2 : หมายเลข IP ชุดแรกที่ต้องการตรวจสอบการเชื่อมต่อ สามารถกำหนดเป็น LAN IP หรือ IP Address บน Internet ก็ได้
หมายเลข IP ชุดที่สองที่ต้องการตรวจสอบการเชื่อมต่อ สามารถกำหนดเป็น LAN IP หรือ IP Address บน Internet ก็ได้
3. Ping Frequency : ระยะเวลาในการทดสอบ หมายถึง ต้องการจะให้ทดสอบในทุกกี่วินาที สามารถกำหนดเวลาได้ตั้งค่า 10 ถึง 999 นาที สำหรับค่า Default จะอยู่ที่ 120 วินาที หรือ 2 นาที
4. Failed tries : เป็นการกำหนดจำนวนครั้งว่า หากการเชื่อมต่อผิดพลาดจำนวนตามจำนวนที่กำหนด ให้ทำตามเงื่อนไขที่กำหนดใน Action สำหรับค่า Default จะอยู่ที่ 2 ครั้ง
5. Action : เป็นการกำหนดเงื่อนไขให้กับ Frequency กับ Failed triesโดยมีตัวเลือกว่าจะให้อุปกรณ์ Reconnect ในส่วนของ WAN หรือ Reboot อุปกรณ์ใหม่
NOTE : กรณีที่กำหนด IP Address ไว้ 2 ชุด จะต้อง Ping ไม่เจอทั้ง 2 ชุดนะครับ แค่ตัวใดตัวหนึ่งจะไม่เข้าเงื่อนไข Action ครับ
10. Change Password
เป็นการตั้งค่าเปลี่ยน Password ในการเข้าหน้า Router Tenda ตอน Login ครั้งแรก เพื่อป้องกันคนอื่น ไม่ให้สามารถเข้าสู่หน้าการตั้งค่าต่าง ๆ ของตัวอุปกรณ์ได้ โดยค่า Default จากโรงงานคือ Password = admin
สำหรับการเปลี่ยน Password ของหน้า Login นั้น จะมีให้กรอก Old Password ก็ให้กรอกเป็น admin แล้วจากนั้น ก็กรอก New Password และ Confirm อีกครั้ง โดยความยาวของ Password สูงสุด 12 ตัวอักษรครับ และไม่รองรับการเว้นวรรคครับ
หลังจากเปลี่ยน Password แล้ว เวลาที่ติดหน้า Login ก็ให้ผู้ใช้กรอกรหัสผ่านใหม่ในช่อง Password ครับ
11. การ Upgrade Firmware
เป็นเมนูสำหรับ Upgrade Firmware ให้กับตัวอุปกรณ์ เพื่อให้ Software ในตัวอุปกรณ์ทันสมัย หรือเพื่อแก้ปัญหาการใช้งานฟังก์ชั่น บางอย่างที่ยังไม่สมบูรณ์ครับ สำหรับไฟล์ Firmware นั้นสามารถหา Download ได้จาก 2 ช่องทางคือ จาก www.tendacn.com แล้วเลือกรุ่นของอุปกรณ์ที่ตรงกัน ( ยกเว้น W309R+ ) ส่วนช่องทางที่สอง ก็คือ สอบถามจากทาง Support ของ Plenty โดยทาง Support ก็จะส่งให้ลูกค้าทาง Email ครับ ส่วนวิธีการ Upgrade ก็ทำตามขั้นตอนดังนี้ครับ โดยให้เข้ามาที่เมนู Tools > Upgrade ก่อน
จากนั้น ให้คลิกปุ่ม Browse หรือปุ่มเลือกไฟล์ แล้วเลือกไฟล์ Firmware ของอุปกรณ์ในหน้าต่างใหม่ แล้วกดปุ่ม Open ครับ
เมื่อเลือกไฟล์เรียบร้อยแล้ว จะกลับมาหน้า Upgrade ให้คลิกปุ่ม Upgrade เพื่อเริ่มขั้นตอนการ Upgrade Firmware ครับ แล้วจะมีหน้าต่างให้ยืนยันการอัพเกรด Firmware ขึ้นมา ก็ให้คลิก ตกลง ดังรูป
เมื่อคลิกตกลงแล้ว ตัวอุปกรณ์จะเริ่มทำการ Upgrade Firmware ให้รอจนเสร็จสิ้นการอัพเกรดครับ เมื่อเสร็จแล้วจะกลับไปที่หน้า Login อีกครั้ง ก็ให้ผู้ใช้ทำการ Restore To Fatory Default ตัวอุปกรณ์ อีกครั้ง ครับ แล้วรอให้อุปกรณ์ Restore ค่าจนเสร็จ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน
หมายเหตุ : การอัพเกรดเฟิร์มแวร์ แนะนำให้ทำการอัพเกรดผ่านสายแลน ( LAN ) ไม่แนะนำให้ Upgrade ผ่านไวไฟ ( WIFI ) เนื่องจากอาจทำให้เกิดความมเสียหายแก่อุปกรณ์ได้ครับ
******************** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่เบอร์ 02-3123641 – 6 ( 6 คู่สายอัตโนมัติ ), 086-3697855 *********************